ความเป็นมาของโทรศัพท์
โทรศัพท์ถูกประดิษฐ์ขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกา
โดย ALEXANDER
GRAHAM BELL เมื่อปี ค.ศ.1876 (พ.ศ.2419)
ระบบโทรศัพท์ประกอบด้วยเครื่องโทรศัพท์ 2
เครื่อง วางห่างกันโดยมีสายไฟฟ้าเชื่อมต่อ ระหว่างเครื่องทั้ง 2 ให้สามารถสื่อสารถึงกัน
อาศัยหลักการของการเปลี่ยนสัญญาณเสียงเป็นสัญญาณไฟฟ้า ส่งไปตามสายไฟฟ้า
เมื่อถึงปลายทางสัญญาณไฟฟ้าจะถูกเปลี่ยนเป็นสัญญาณเสียงตามเดิม
ในขณะนั้นยังไม่มีชุมสายโทรศัพท์
โทรศัพท์เป็นคำมาจากภาษาอังกฤษ Telephone ซึ่งมาจากภาษากรีก 2 คำ คือ
Tele
แปลว่า "ไกล" และ Phone แปลว่าเสียง
รวมหมายถึง เสียงในที่ไกล
พ.ศ.
2424
โทรศัพท์ถูกนำมาใช้เป็นครั้งแรกในประเทศไทย
ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5
แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยสมเด็จพระราชปิตุลาบรมวงศาภิมุขเจ้าฟ้าภาณุรังสีสว่างวงศ์
เจ้ากรมกลาโหมในขณะนั้น ได้ทรงดำรินำวิทยาการด้านการสื่อสารด้วย
โทรศัพท์เข้ามาใช้เป็นครั้งแรก โดยทดลองนำเครื่องโทรศัพท์มาติดตั้งที่กรุงเทพฯ
และที่ปากน้ำจังหวัดสมุทรปราการ อาศัยสายโทรเลขที่กรมกลาโหมสร้างขึ้น สายแรก คือ กรุงเทพมหานคร-สมุทรปราการ
เพื่อแจ้งข่าวเรือเข้าออกระหว่างกรุงเทพฯ กับสมุทรปราการ
ต่อมามีการจัดตั้งกรมโทรเลขขึ้นในปี 2426
และเป็นผู้รับผิดชอบงานด้านโทรศัพท์ด้วย
พ.ศ. 2450
ตั้งชุมสายโทรศัพท์แห่งแรก
ติดตั้งระบบโทรศัพท์ไฟกลางใช้พนักงานต่อ (CENTRAL
BATTERY : CB) ชุมสายโทรศัพท์ ระบบแรกที่ถูกผลิตขึ้นมา
เป็นชุมสายกึ่งอัตโนมัติ การติดต่อต้องผ่านพนักงาน ผู้ซึ่งทำหน้าที่
ต่อสายระหว่างผู้เช่าทั้ง 2 ทาง
โดยติดตั้งที่โทรศัพท์กลางวัดเลียบ
พ.ศ.
2471
ให้บริการโทรศัพท์ทางไกล
บริการโทรศัพท์ได้ขยายขอบข่ายครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพฯ ธนบุรี
และยังสามารถใช้ติดต่อกับ จ.สมุทรปราการ นนทบุรี และนครปฐม
พ.ศ. 2478
เริ่มใช้ชุมสายระบบ STEP BY STEP กระทรวงพาณิชย์และคมนาคม
โดยพลเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชร อัครโยธิน
ได้สั่งซื้อเครื่องชุมสายโทรศัพท์ระบบอัตโนมัติ STEP-BY-STEP จากประเทศอังกฤษ
เป็นชุมสายโทรศัพท์ระบบแรกที่ผู้เช่าสามารถหมุนหน้าปัดถึงกันได้โดยตรง
ทำการติดตั้งที่โทรศัพท์กลางวัดเลียบ 2,300 เลขหมาย
และโทรศัพท์กลางบางรัก 1,200 เลขหมาย เปิดบริการครั้งแรก
เมื่อ 24 กันยายน 2480
และเพิ่มชุมสายโทรศัพท์กลางขึ้น 2 แห่ง คือ ชุมสายเพลินจิต
และชุมสายสามเสน
พ.ศ. 2497
สถาปนาเป็นองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยเมื่อวันที่
24 กุมภาพันธ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
ทรงมีพระบรมราชโองการให้ตราพระราชบัญญัติจัดตั้ง องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย
เป็นรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงคมนาคม โดยแยกจากกองช่างโทรศัพท์ กรมไปรษณีย์โทรเลข
ให้บริการโทรศัพท์ ในเขตนครหลวง ประกอบด้วย ชุมสายวัดเลียบ ชุมสายบางรัก
ชุมสายเพลินจิต และชุมสาย สามเสน พนักงาน 732 คน ทรัพย์สิน 50 ล้านบาท
พ.ศ. 2507
ติดตั้งชุมสายครอสบาร์ในนครหลวง
และรับโอนโทรศัพท์ทางไกลนำชุมสาย CROSS BAR มาติดตั้งที่ชุมสายชัยพฤกษ์เป็นแห่งแรก
และที่ชุมสายทุ่งมหาเมฆอีก 4,000 เลขหมาย
รับโอนชุมสายโทรศัพท์ในภาคกลางภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จากกระทรวงคมนาคม จนปี 2512
จึงรับโอนชุมสายโทรศัพท์จากภาคเหนือ และภาคใต้ มาอยู่ในความรับผิดชอบครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ
พ.ศ. 2517
เปลี่ยนเลขหมายเป็น 6 หลัก 22
มิถุนายน ดำเนินการตัดเปลี่ยนเลขหมายโทรศัพท์ (CUT OVER) ในชุมสายระบบ
CROSS BAR จาก 5 ตัว เป็นเลขหมาย 6 ตัว ยกเว้นชุมสาย STEP-BY-STEP 3 ชุมสาย คือ บางรัก,
พหลโยธิน และสามเสน จำนวน 20,000 เลขหมาย
พ.ศ.
2519
เปลี่ยนใช้เลขหมายโทรศัพท์
7 ตัว ในนครหลวง 24 เมษายน
ตัดเปลี่ยนเลขหมายโทรศัพท์ในเขตนครหลวง จาก 5 ตัว และ 6 ตัว เป็นเลขหมาย 7 ตัว ทั้งหมด
และในเขตโทรศัพท์ภูมิภาค เปลี่ยนเป็นเลข 6 ตัว ทุกชุมสาย
พ.ศ. 2521
ให้บริการโทรศัพท์ไร้สาย นำบริการโทรศัพท์ไร้สาย (MULTI ACCESS
RADIO TELEPHONE) มาให้บริการแก่ผู้อยู่นอกพื้นที่ข่ายสายโทรศัพท์ทั่วประเทศ
โดยให้บริการในรัศมี 30 กิโลเมตร
รอบชุมสายที่ติดตั้งสถานีฐาน
พ.ศ. 2522
เปิดบริการโทรศัพท์สาธารณะแบบไม่มีผู้ดูแล
นำโทรศัพท์สาธารณะแบบผู้ใช้หยอดเหรียญ (BOOTH) และไม่มีผู้ดูแล
มาติดตั้งในเขตโทรศัพท์นครหลวง 100 เครื่อง
และเปิดใช้โทรศัพท์ทางไกลอัตโนมัติทางเดียวแห่งที่ 2
กรุงเทพฯ - พัทยา
พ.ศ. 2525
ให้บริการโทรศัพท์สาธารณะทางไกลอัตโนมัติ
เปิดบริการโทรศัพท์ทางไกลสาธารณะอัตโนมัติ 20 แห่ง
ในเขตโทรศัพท์นครหลวง เป็นครั้งแรก
พ.ศ.
2526
เปิดใช้ชุมสายโทรศัพท์ระบบ เอส พี ซี
นำชุมสายโทรศัพท์ระบบ SPC
(STORED PROGRAM CONTROL) มาใช้ครั้งแรกที่ชุมสายภูเก็ต
เปิดบริการโทรศัพท์ทางไกลอัตโนมัติระหว่างไทย - มาเลเซีย
พ.ศ. 2529
เปิดให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่
นำบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ NMT (NORDIC MOBILE TELEPHONE) 470 MHZ มาเปิดให้บริการ โดยใช้ร่วมกับโครงข่าย SPC ปรับปรุงระบบค้นหาเลขหมาย
13 และ 183
จากการเปิดสมุดโทรศัพท์เป็นการใช้คอมพิวเตอร์ (COMPUTERIZED DIRECTORY
ASSISTANCE SYSTEM : CDAS) ซึ่งใช้เวลาเพียง
30 วินาที ต่อการค้นหา 1
เลขหมายเท่านั้น
พ.ศ. 2533
ให้บริการหลากหลายรูปแบบ
เปิดบริการโทรศัพท์ทางไกลฟรี 088 (TOLL FREE CALL 088 ) เปิดให้บริการสื่อสารข้อมูลระบบดาต้าเน็ต
(DATANET) เปิดให้บริการโทรศัพท์ติดตามตัว (PAGING) โฟนลิงค์ และเพจโฟน เปิดให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ระบบความถี่ 900
MHz
พ.ศ.
2534
สู่เทคโนโลยีนำสมัย
เปิดให้สัมปทานโทรศัพท์สาธารณะแบบใช้บัตร (CARDPHONE) ในเขตนครหลวง
ติดตั้งสถานีดาวเทียมภาคพื้นดิน เพื่อใช้เป็นโครงข่ายโทรคมนาคมสำรอง
เปิดให้บริการสื่อสารข้อมูลเพื่อธุรกิจผ่านดาวเทียม (ISBN) เพื่อรับ-ส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์
โทรสาร โทรศัพท์ และอื่นๆ วางระบบเคเบิลใยแก้วนำแสงใต้น้ำในอ่าวไทย ระยะทาง 1,300 กิโลเมตร
ใช้เป็นโครงข่ายพัฒนาระบบโทรคมนาคมการติดต่อสื่อสารทางภาคใต้ของประเทศ
เปิดโครงข่ายเคเบิลใยแก้วนำแสงตามเส้นทางรถไฟสายหลักของประเทศ 3 สาย คือ สายเหนือ สายตะวันออกเฉียงเหนือ และสายใต้
รองรับความต้องการใช้โทรศัพท์ทางไกล ในเขตภูมิภาคและนครหลวง
เปิดบริการประชุมทางไกลผ่านจอภาพ (TELECONFERENCE)
พ.ศ.
2536
ความก้าวหน้าของบริการ
และโครงการใหญ่
- เปิดให้บริการโทรศัพท์สาธารณะทางไกลต่างประเทศชนิดหยอดเหรียญ
[INTERNATIONAL
SUBSCRIBER DIALING COIN PHONE : ISD]
- เปิดให้บริการสื่อสารร่วมระบบดิจิตอล
(ISDN) เปิดบริการระบบข้อมูลธุรกิจ (VIDEOTEX)
- เปิดให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่สาธารณะ
แบบใช้บัตรบนรถโดยสารปรับอากาศรุ่นใหม่ (ใช้ก๊าซธรรมชาติ NGV) โดยต่อเชื่อมโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 470 MHz เข้ากับ
Card Phone
พ.ศ.
2541
มกราคม เปิดให้บริการโฮมคันทรีไดเร็ค (Home Country Direct : HCDS) ระหว่างไทยและมาเลเซีย
ด้วยรหัส 1800-8000-66
ธันวาคม
เปิดให้บริการโทรศัพท์สาธารณะแบบใช้ TOT CARD ระยะแรกติดตั้งในเขตนครหลวง
และภูมิภาคบางส่วน รวมทั้งให้บริการในการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้ง 13
พ.ศ.
2543
14 ม.ค. เปิดให้บริการอินเตอร์เน็ตสาธารณะที่จังหวัดเชียงใหม่เป็นครั้งแรก
เพื่อให้ประชาชนทั่วประเทศ
มีโอกาสใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง ในอัตราครั้งละ 3 บาท
1 พ.ค.
ปรับปรุงอัตราค่าบริการโทรศัพท์สาธารณะทางไกลภายในประเทศ เป็นอัตรา 3, 6,
9, 12, 12, 12 บาท/นาที ลดค่าเช่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่
470 MHz จากอัตรา 450 บาท/เดือน
เป็นอัตรา 300 บาท/เดือน ปรับปรุงอัตราค่าบริการโทรศัพท์ PIN
PHONE 108 โทรในท้องถิ่น 3 นาที/ บาท
โทรทางไกลภายในประเทศอัตรา 3, 6, 9, 12, 12, 12 บาท/นาท
ส.ค. เปิดบริการโฮมคันทรีไดเร็ค
โทรจากประเทศไทยไปมาเลเซีย (1800-0060-99 , 1800-0060-88) โทรไปสิงค์โปร์
(1800-0065-99) โทรไปไต้หวัน (1800-0886-10)
พ.ศ.
2545
1 ม.ค. เปิดให้บริการ TOT
online "1222" ในอัตรา 3 บาท
ทั่วประเทศ
6 ก.พ. เปิดให้บริการ e-learning
การเรียนการสอนทางไกลผ่านอินเทอร์เน็ต
25 มี.ค.
เปิดให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 1900 MHz THAI MOBILE เป็นการดำเนินการร่วม
ระหว่างกสท. และ ทศท
17 พ.ค.
ให้บริการอุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคม ระหว่างกรมอุตุนิยมวิทยากับ ทศท
29 พ.ค. PIN Phone 108 สามารถใช้บริการ AUDIOTEX ได้
31 ก.ค. แปลงสภาพเป็น บริษัท
ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
(TOT Corporation Public Company
Limited)
9 ส.ค. เปิดให้บริการ TOT
POSTPAID บริการบัตรรหัสโทรศัพท์ และบริการ PRIVATE NET บริการโครง ข่ายเฉพาะกลุ่ม บนโครงข่าย IN
12 ก.ย. เปิดให้บริการ BROADBAND-ISDN
บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง
พ.ศ. 2547
4 ก.พ.
เปิดให้บริการโครงการการให้บริการระบบเครือข่ายสำหรับ Electronic Draff
Capture (EDC Network Pool) ภายใต้ชื่อการค้า “EDC Pool”
1 ก.ค.
เปิดบริการโทรต่างประเทศผ่านรหัส 007 นาทีละ 9 บาท 9 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น อังกฤษ
ออสเตรเลีย จีน ฮ่องกง ไต้หวัน เยอรมัน และสิงคโปร์
30 ส.ค.
เปิดให้บริการชำระค่าใช้บริการโทรศัพท์
ผ่านเคาน์เตอร์ธนาคารอาคารสงเคราะห์ทั่วประเทศ คิดอัตราค่าบริการ 10 บาท/1 ใบแจ้งหนี้
20 ต.ค.
เปิดบริการโทรทางไกลระหว่างประเทศผ่านรหัส 007 ครอบคลุม 212 ประเทศทั่วโลก อัตราค่าบริการ 9 – 45 บาท / นาที
และบริการโทรทางไกลระหว่างประเทศผ่านรหัส 008 ครอบคลุม 151 ประเทศทั่วโลก อัตราค่าบริการ 6 – 32 บาท / นาที
15 พ.ย. บมจ.ทศท ร่วมกับ
ฮัทชิส้น ซีเอที ไวร์เลส มีเดีย เปิดให้บริการรับชำระค่าบริการรายเดือน
โทรศัพท์เคลื่อนที่ HUTCH ได้ที่ ศูนย์บริการลูกค้า ทศท
ในเขตนครหลวง โดยไม่เสีย ค่าธรรมเนียม
พ.ศ. 2548
4 ม.ค. เปิดรับชำระค่าบริการ (Easy
Buy) ผ่านศูนย์บริการลูกค้า ทศท ในเขตนครหลวง
1 ก.ค. เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท
ทีโอที จำกัด (มหาชน) (TOT Public Company Limited)
4 ส.ค.ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่หนึ่ง
และแบบที่สาม
และใบอนุญาตให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบที่หนึ่ง จาก กทช. ซึ่งออกให้ตามมาตรา 70 แห่ง พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม
23 ส.ค.
ศูนย์บริการลูกค้าทีโอทีในเขตนครหลวง
เป็นตัวแทนรับชำระค่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ AIS และบริษัท
DPC
1 ก.ย.
ศูนย์บริการลูกค้าทีโอทีในเขตนครหลวง เปิดรับชำระค่าบัตรเครดิต HSBC และเปิดชำระค่าไฟฟ้าจังหวัดปทุม
อ้างอิง https://wiki.stjohn.ac.th/groups/poly_electronics/wiki/29947/5.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น