วันพุธที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2559

ข้อดี-ข้อเสียการใช้โทรศัพท์สมารทโฟน




ข้อดี-ข้อเสียการใช้โทรศัพท์สมารทโฟน


การใช้โทรศัพท์มือถือ หรือที่เรียกกันติดปากว่า  “มือถือ” 
ซึ่งเป็นอุปกรณ์สื่อสารที่เรียกได้ว่าเป็นที่นิยมแพร่หลาย และเข้าถึงได้ง่ายในโลกปัจจุบัน ก็มีประเด็นให้ถกเถียงกันในแง่ปัญหาสุขภาพอยู่ไม่น้อย เนื่องด้วยลักษณะการใช้งานของโทรศัพท์มือถือที่ต้องสัมผัสแนบศีรษะและหู เพื่อให้ได้ยินเสียง และพูดผ่านไมโครโฟนภายในเครื่อง เมื่อสนทนาต่อเนื่องเป็นเวลานาน ผู้ใช้จะรู้สึกได้ถึงความร้อนที่เกิดขึ้น รวมถึงหลักการของสัญญาณคลื่นไมโครเวฟที่นำมาใช้กับโทรศัพท์มือถือ ก็ได้ก่อให้เกิดความกังวลเรื่องความร้อนและพลังงานรังสี การใช้งานโทรศัพท์มือถือในช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมา เพื่อติดต่อสื่อสารพูดคุยโดยทั่วไป แต่ในปัจจุบันเทคโนโลยีมากมายถูกนำมารวมไว้ในโทรศัพท์มือถือ เพื่อความสะดวกและประโยชน์ใช้สอย ไม่ว่าจะเป็นการเล่นอินเทอร์เน็ตผ่านมือถือ การถ่ายภาพ การจัดเอกสารข้อมูล รวมไปถึงการดูโทรทัศน์ ดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกมต่าง ๆ เทคโนโลยีเหล่านี้ทำให้ผู้ใช้งานต้องมองหน้าจอมือถือมากขึ้นและเป็นที่น่าสนใจของวัยรุ่นมากขึ้นโดยมีการสุ่มการทำแบบประเมินการเปรียบเทียบระหว่างนักเรียน-นักศึกษา และบุคคลทั่วไป ดังนี้



จะเห็นได้ว่า วัยรุ่น(นักเรียน-นักศึกษา)มีการใช้โทรศัพท์มือถือมากกว่าผู้ใหญ่(บุคคลทั่วไป) วันนี้เราก็เลยเอาข้อดี-ข้อเสีย ของโทรศัพท์มือถือและการใช้โทรศัพท์มือถือมาฝากค่ะ

ข้อดี
1.ใช้สื่อสารทางไกลได้



2.สามารถ ถ่ายภาพ ติดตามข่าวสาร ท่องอินเตอร์เน็ตได้สะดวกรวดเร็ว


3.ช่วยให้การทำงานง่ายขึ้น บางทีอาจสามารถใช้แทนคอมพิวเตอร์ได้เลย


4.พกพาสะดวก 


5.สามารถขอความช่วยเหลือได้ทันทีหากเกิดเหตุด่วน



6.ช่วยเตือนความจำได้


ข้อเสีย
1.ทำให้เสียอารมณ์ หากโทรศัพท์มือถือดังในช่วงที่คุณต้องการความสงบ มีสมาธิ หรือเวลาอะไรก็ตามที่คุณมีความสุข


2.อาจทำให้เกิดอาการประสาทหลอน เช่น ได้ยินเสียงโทรเข้ามาซ้ำๆ


3.ทำให้เกิดอาชญากรรมอันถึงแก่ชีวิตได้ ถ้าหากโทรศัพท์ของคุณเป็นที่ต้องการของโจร


4.ทำให้อารมณ์ร้อนของคุณ มีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น เพราะคุณจะใช้การโทรศัพท์ในการเผยแพร่ มากว่าจะอยู่กับตัวเองทบทวนปัญหา


5. ทำให้เป็นภาระทางการเงิน 


6.ทำให้สมองของคุณฟ่อลง คุณจะพึ่งพาความจำของเครื่องโทรศัพท์แทน


7.เป็นภาระ เช่นกลัวว่าจะหาย  กลัวจะลืม ฯลฯ


8.อาจติดโทรศัพท์มือถือจนไม่ทำอย่างอื่นเลย









9.อาจโดนล่อลวงจากคนที่รู้จักกันใน social network ได้ง่าย


อ้างอิง http://pantip.com/topic/32621896




วันเสาร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2559

ประวัติผู้จัดทำ


ประวัติผู้จัดทำ




ชื่อ ด.ญ.ภูชณิษา        หนูพลัด    ชื่อเล่น มิ้นท์    อายุ 14 ปี
เกิดวันที่ 15 เดือน มิถุนายน พ.ศ.2544
กำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/3

คติประจำใจ   ทำวันนี้ให้ดีที่สุด

วันเสาร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2559

พัฒนาการโทรศัพท์มือถือ



พัฒนาการโทรศัพท์มือถือ





นักประวัติศาสตร์บอกว่าการศึกษาอดีตที่ผ่านมาจะทำให้เรามองเห็นอนาคตได้ ดังนั้นในวันที่อุปกรณ์สื่อสารแบบพกพามีอิทธิพลมหาศาลต่อการตลาดดิจิตอลเช่นนี้ การศึกษาถึงภาพรวมวิวัฒนาการโทรศัพท์มือถือจึงเป็นเรื่องน่าสนใจที่คนทั่วโลกไม่ควรพลาด


ทุกวันนี้คงจะปฎิเสธไม่ได้ว่าโทรศัพท์มือถือเข้ามามีบทบาทอย่างมากในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะโทรศัพท์สมาร์ทโฟนที่กำลังเป็นกระแสมาแรงอยู่ในตอนนี้ แต่เราเคยรู้กันรึเปล่าว่า ก่อนจะมาเป็นสมาร์ทโฟนสุดไฮเทคในปัจจุบัน โทรศัพท์มือถือในอดีตต้องใช้เวลาในการชาร์จพลังงานใหม่แต่ละครั้งมากกว่า 10 ชั่วโมง และมีราคาเครื่องหนึ่งสูงเกือบ 1 แสนบาท




เว็บไซต์ JellyvisionLab.com ได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับวิวัฒนาการของโทรศัพท์มือถือในแต่ละยุคตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นจนมาเป็นสมาร์ทโฟนที่เราใช้กันอยู่ในตอนนี้ โดยได้เสนอผ่าน Infographic ว่าโทรศัพท์มือถือรุ่นแรกถูกผลิตขึ้นในปี 1983 หรือเกือบ 30 ปีที่ผ่านมา ซึ่งมีขนาดใหญ่พกพาลำบาก และมีราคาสูงถึง 3,995 เหรียญสหรัฐหรือราคาราว 1 แสนบาทของบ้านเราในสมัยนั้น หลังจากนั้นก็มีโทรศัพท์มือถือแบบใหม่ออกมาเรื่อยๆ ซึ่งต่างก็ถูกพัฒนาให้มีความทันสมัยทั้งในเรื่องของขนาด รูปร่าง รวมไปถึงคุณสมบัติการใช้งาน จนมาถึงจุดเปลี่ยนสำคัญที่เริ่มมีการนำโทรศัพท์สมาร์ทโฟนมาใช้เป็นครั้งแรก ซึ่งได้รับความนิยมอย่างมากและก็มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนมาถึงยุคที่มีการแข่งขันอย่างดุเดือดของสมาร์ทโฟนจากค่าย Apple และ Android อย่างที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน

โทรศัพท์สมาร์ทโฟนได้รับการพัฒนาให้มีคุณณสมบัติในการใช้งานที่หลากหลายและสะดวกสบายเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะการใช้งาน Mobile Internet ที่สามารถใช้งานได้ทุกที่ทุกเวลา ซึ่งส่งผลทำโทรศัพท์สมาร์ทโฟนให้กลายเป็นกระแสมาแรงจนตอนนี้ทั่วโลกมีจำนวนผู้ใช้รวมกันมากกว่า 1 พันล้านคน

ส่วนกิจกรรมส่วนใหญ่ที่นิยมทำผ่านโทรศัพท์สมาร์ทโฟนก็คือ การรับส่งข้อความทุกประเภท (92%), ท่องเว็บ (84%), อีเมล (76%), ดาวน์โหลดแอพพลิเคชัน (69%), เกมส์ (64%), ใช้งานโซเชียลเน็ตเวิร์ก (59%) และกิจกรรมชมวิดีโอ-ฟังเพลง (48%) ยังรวมไปถึงการช็อปออนไลน์ ที่จัดว่าเป็นกิจกรรมอีกอย่างที่ขาดไม่ได้เช่นกัน ซึ่งเป็นจำนวนถึง 4 ใน 5 ของผู้ใช้สมาร์ทโฟนเลยทีเดียว

จุดนี้การสำรวจพบว่า ผู้ใช้ส่วนใหญ่นิยมใช้สมาร์ทโฟนในการเพื่อซื้อสินค้าทั้งที่อยู่ในบ้านด้วย เช่นเดียวกับเมื่ออยู่นอกบ้านหรือแม้แต่ขณะที่อยู่ในห้างสรรพสินค้า ซึ่งในปี 2012 ที่ผ่านมาพบว่ามียอดเงินรวมในการซื้อสินค้าผ่านสมาร์ทโฟนมากถึง 1.715 แสนล้านเหรียญสหรัฐ

นอกจากนี้ยังพบว่าไม่เพียงแค่โทรศัพท์สมาร์ทโฟนที่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเท่านั้น ยังมีอุปกรณ์พกพาอย่างแท็บเล็ตที่ถูกพัฒนาไปพร้อมกันอีกด้วย โดยแท็บเล็ตได้กลายมาเป็นเทรนด์ใหม่แทนการใช้งานคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ (desktop) ในแบบเดิม ซึ่งกิจกรรมส่วนใหญ่ที่นิยมทำผ่านแท็บเล็ตคือการติดตามข่าวสาร (83%), อีเมล (54%), เครือข่ายสังคม (39%), เกมส์ (30%), อ่านหนังสือ (27%) และฟังเพลง-ชมวิดีโอ (13%)

วิวัฒนาการและความสำคัญของอุปกรณ์เหล่านี้ สะท้อนว่าช่องทางสำคัญในการทำธุรกิจยุคใหม่กำลังเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาเช่นกัน


อ้างอิง http://thumbsup.in.th/2013/01/evolution-phone-to-smartphone/




สาเหตุที่ทำให้สมาร์ทโฟน มีปัญหา


สาเหตุที่ทำให้สมาร์ทโฟน มีปัญหา


Clean master app logo
มีหลากหลายสาเหตุที่อาจทำให้สมาร์ทโฟนคู่ใจของเรามีปัญหา เริ่มต้นด้วยเรื่องง่ายๆ ที่เก็บข้อมูลเต็ม เพราะวันๆ มีแต่รูปภาพและวีดีโอที่เราถ่าย นอกจากนี้อีกหลายๆ คนก็อาจมีปัญหามาจากการดาวน์ดโหลดแอพฯ มาทดสอบใช้งาน โดยกับของฟรีๆ แต่ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใดก็ตาม เราสามารถแก้ไขปัญหาได้ง่ายๆ เพียงแค่ติดตั้ง แอพฯ ผู้ช่วยของแอนดรอยด์โดยเฉพาะที่ชื่อว่า Clean Maser ซึ่งเป็นฟรีแอพฯ ที่จะคอยตรวจสอบและจัดการขยะบนสมาร์ทโฟนให้หายหมดจนได้เพียงแตะ 1 - 2 ครั้งเท่านั้น ไม่เชื่ออย่าลบหลู่

Clean Maser (Cleaner) FREE

Clean Master app Andorid
  • ·         ปัจจุบันเป็นเวอร์ชั่น 5.0
    ·         มีผู้ดาวน์โหลดมากกว่า 100 ล้าน
    ·         ใช้งานง่ายเพียงแค่แตะ หรือจะเลือกลบไฟล์ที่เราไม่ต้องการจริงๆ ได้
    ·         สามารถกำจัดขยะบนสมาร์ทโฟน
    ·         สามารถปรับแต่งแก้ไขหน่วยความจำเต็ม
    ·         มีเมนูช่วยให้ uninstall app ได้โดยตรง
    ·         มีเครื่องมือในการตรวจสอบมัลแวร์ได้ด้วย
    ·         มีการใช้สีเป็นตัวแสดงสถานะ เช่น สีส้มถึงแดง หมายถึงมีปัญหามาก หรือมีขยะมาก เป็นต้น
    วิธีการใช้งาน Clean Master (Clener) FREE
    1.            ให้ดาวน์โหลดและติดตั้ง Clean Master (Cleaner) FREE
    2.            จะพบไอคอน Clenn Master แตะเพื่อเปิดแอพฯ
    3.            จะพบหน้าต่าง ดังภาพประกอบด้านบน ให้แตะเลือกไฟล์ที่ต้องการจัดการ
    o    Junk File ขยะจาการใช้งาน
    o    Memory Boost คำสั่งที่ช่วยความจำเพิ่มขึ้น โดยการลบแอพฯ ทีไม่ต้องการออก
    o    Securiyt & Privacy ตรวจสอบมัลแวร์ หรือไวรัส รวมทั้งระบบ security ในการใช้งานสมาร์ทโฟน
    o    App Manager สำหรับจัดการลบแอพฯ ที่ไม่ต้องการ
    4.            รอสักครู่ โปรแกรมจะตรวจสอบและแสดงคำสังให้เลือกจัดการ
    นอกจากนี้ เราจะพบแอพฯ อีกตัวหนึ่งชื่อ 1Tap Boost ทีจะช่วยเพิ่มหน่วยความจำของแรมได้แบบด่วน แค่แตะ ก็จัดการให้อัตโนมัติ
    สรุปภาพรวมการใช้ Clean Master ถือว่าใช้งานได้ง่ายมากที่สุดตัวหนึ่ง ใครสนใจคงต้องลองดูกันครับ..
    ท้ายที่สุดที่ทำให้เราไม่จำเป็นต้องคิดมาก นั่นคือเป็นแอพฯ ฟรีที่สามารถดาวน์โหลดมาลองเล่นได้ ส่วนตัวก็ติดตั้งอยู่ และรู้ว่าทำงานได้ค่อนข้างมีประสิทธิภาพมาก ใช้งานง่าย แตะปุ๊บจะสามารถเพิ่มหน่วยความจำของเครื่องได้ทันที แถมหน้าตาการใช้งานก็ดูดีมีชาติตระกูลอีกด้วย

อ้างอิง http://www.imotab.com/


7 หลักการเลือกซื้อมือถือ

หลักการเลือกซื้อมือถือ

1.ขนาดหน้าจอไม่ต่ำกว่า 4 นิ้ว
เรายังเห็นสมาร์ทโฟนจอเล็กกว่า 4 นิ้วในรุ่นที่ราคาต่ำกว่า 5 พันอยู่บ้าง แต่เชื่อเถอะครับ จอราวๆ 4 – 6 นิ้วเป็นขนาดที่กำลังเหมาะ ทั้งในแง่ของการดู การถือ การใช้งาน ไม่เชื่อลองดูพวกรุ่น 2 หมื่นกว่าๆ ก็ได้ ทำหน้าออกมาขนาดราวๆ นี้ทั้งนั้นแหละ ถ้างบไม่ถึงอดทนอีกนิดไปเลือกที่จอใหญ่กว่า 4 นิ้วดีกว่าเยอะ

2.ความละเอียดหน้าจอ 720p เป็นอย่างน้อย
ถ้าซื้อมาแล้วเห็นภาพถ่าย ดูวีดโอ เล่นเกม ภาพแตกไม่สวยมันก็น่ารำคาญใจไม่น้อย จะซื้อทั้งทีเลือกที่ความละเอียดหน้าจอเนียนสบายตาหน่อยดีกว่า ความละเอียดหน้าจอ 720p แม้จะไม่สบายตาเนียนเท่า Full HD แต่เท่าที่ลองใช้มาหลายตัว ความละเอียดเท่านี้ก็โอเคสมราคาแล้ว


3.ram(แรม) 1.5 GB ขึ้นไป
อย่าเด็ดขาด อย่าสอยมือถือ Android ที่แรมต่ำว่า 1 GB ลงไป อันที่จริงแรม 1 GB ก็พอใช้งานได้แหละ แต่ถ้าให้แนะนำจริงควรหารุ่นที่แรม 1.5 GB ขึ้นไปมากกว่า พวกรุ่นราคา 5,000-6,000 บาทนี่ก็มีหลายรุ่นเลยที่แรม 2 GB แต่ถ้างบไม่อำนวยจริงๆ อย่างน้อยแรม 1.5 GB ก็พอรับได้ครับ แต่อย่าสอย 1 GB หรือต่ำกว่าเด็ดขาด!

4.หน่วยความจำภายใน(Rom)ขั้นต่ำ 16 GB
ข้อนี้มีคนเถียงว่า มือถือเค้าใส่การ์ดหน่วยความจำเพิ่มได้ จะซีเรียสเรื่องหน่วยความจำไปทำไม?” ความจริงคือแอพเดี๋ยวนี้มีขนาดใหญ่มากขึ้น โดยเฉพาะแอพเกม แอพโซเชี่ยลทั้งหลาย และเจ้าแอพพวกนี้ไม่สามารถย้ายไปไว้ใน SD การ์ดได้ ทำให้หน่วยความจำภายในเต็มเอาดื้อๆ ป๋ารัก Mthai ซื้อรุ่นหน่วยความจำภายใน 8 GB มาใช้ ยังเซ็งไม่หายเลยทุกวันนี้

5.ลองกล้องให้ดีก่อนตัดสินใจความละเอียด 8 ล้านก็ไม่ได้แย่นะเออ
เรื่องกล้องนี่ยุคนี้เค้าไม่เน้นเรื่องความละเอียดกันเท่าไหร่แล้ว8 ล้านพิกเซล ถ้าแสงดี มุมเหมาะก็สวยได้ ไม่จำเป็นต้องหากล้อง 13 ล้านให้เหนื่อยและแพงเปล่า อยากถ่ายภาพสวยด้วยกล้องมือถือราคาถูกๆ 8 ล้านพิกเซลทำได้ครับ แต่เราต้องฝึกฝีมือการถ่ายภาพเพื่อชดเชยด้วยเช่นกัน



6.รองรับ 3G ให้ดีก่อน 4G LTE อย่าไปซีเรียสมาก
3G บ้านเราเดี๋ยวนี้ก็ถือว่าครอบคลุมเยอะแล้ว ส่วน 4G ยังมีแค่ในหัวเมืองใหญ่ที่สัญญาณดีๆ สปีดการใช้งาน 3G ก็ถือว่าดีเลยทีเดียว ดังนั้นเลือกรุ่นที่รองรับ 3G ทุกเครือข่ายหรืออย่างน้อยก็ตรงกับเครือข่ายที่ตัวเองใช้เอาไว้ก่อน ไว้อยู่ในเขตที่ 4G วิ่งประจำค่อยมองหามือถือรองรับ 4G กันอีกที

7.แบตเตอรี่ต้องอยู่ได้เกินวัน 2,500 mAH ขึ้นไปจัดว่าปลอดภัย
การที่มือถือแบตหมดระหว่างวันถือเป็นเรื่องคอขาดบาดตาย ซึ่งอายุการใช้งานของแบตเตอรี่อย่างน้อยก็ควรจะอยู่ได้ตั้งแต่ออกจากบ้านไปเรียน ไปทำงานจนกลับบ้านมาชาร์จ ทั้งนี้การกินแบตของมือถือมันก็แตกต่างกันไปตามสเปคเครื่องอีก เพื่อความชัวร์ควรถามคนขายก่อนซื้อว่าแบตเท่าไหร่ ส่วนใหญ่ซัก 2,500 mAH ขึ้นไปในรุ่นล่างๆ ก็อยู่พ้นวัน แต่ถ้าติดเกมมือถือต้องเล่นเกมบ่อยๆ ซื้อพาวเวอร์แบงค์เอาไว้ด้วยเลยชัวร์กว่า

อ้างอิง http://tech.mthai.com/mobile-tablet/49456.html



วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2559

แนวทางการใช้งานโทรศัพท์มือถือให้ปลอดภัยจากภัยคุกคาม

แนวทางการใช้งานโทรศัพท์มือถือให้ปลอดภัยจากภัยคุกคาม

เนื่องด้วยความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีการสื่อสาร ส่งผลให้มีผู้พัฒนาและผลิตโทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือโทรศัพท์มือถือ ออกมาเป็นจำนวนมาก โดยแต่ละผู้พัฒนาก็มีแนวคิดคล้ายกันคือต้องการอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้งานมากที่สุด สังเกตได้จากสื่อโฆษณาทั่วไปที่มีการโฆษณาถึงความสามารถของโทรศัพท์มือถือในแต่ละฟังก์ชั่นการทำงาน เช่น สามารถเชื่อมต่อกับเครือข่ายไร้สายเพื่อความสะดวกในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตบนโทรศัพท์มือถือ สามารถรับชมวีดีโอบนโทรศัพท์มือถือเพื่อความบันเทิง เป็นต้น แต่จากความสามารถและข้อดีหลายประการของโทรศัพท์มือถือ ก็ยังถูกเจือปนหรือแอบแฝงไปด้วยภัยอันตรายหรือภัยคุกคามหลายประการ ซึ่งผู้ใช้งานอีกจำนวนมากที่อาจจะยังไม่เคยทราบถึงภัยคุกคามจากการใช้งานโทรศัพท์มือถือ ส่งผลให้ผู้ไม่หวังดีสามารถโจมตีหรือขโมยข้อมูลต่างๆได้โดยง่าย เช่น การปลดล๊อคโทรศัพท์มือถือเพื่อนำไปติดตั้งซอฟต์แวร์ผิดกฎหมาย ส่งผลให้ระบบปฎิบัติการบนโทรศัพท์มือถือมีช่องโหว่ เป็นต้น และจากสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน เป็นที่ยอมรับกันว่าโทรศัพท์มือถือได้กลายเป็นเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับองค์กรหรือบริษัทส่วนใหญ่ที่ต้องการให้พนักงานใช้ในการติดต่อสื่อสารเพื่อภารกิจขององค์กร หรือใช้เพื่ออำนวยความสะดวกในการค้นหาข้อมูล ซึ่งโทรศัพท์มือถือขนาดย่อมและมีราคาไม่สูงมากที่วางขายตามท้องตลาด ก็ยังมีความสามารถเทียบเท่าและสามารถใช้งานเพื่อสนับสนุนภารกิจขององค์กรได้ เช่น การใช้งาน VoIP [1] (Voice over IP) ขององค์กร การเข้าถึงเอกสารที่จัดเก็บอยู่บนเว็บไซต์ขององค์กร รวมถึงการรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ขององค์กร เป็นต้น ซึ่งในขณะที่อุปกรณ์เหล่านี้ก่อให้เกิดประโยชน์มากมาย แต่ในทางกลับกันก็ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงในรูปแบบใหม่ที่องค์กรอาจจะไม่เคยคาดคิดมาก่อน ทำให้องค์กรอาจมีความจำเป็นต้องหาแนวทางปกป้องหรือรักษาความปลอดภัยของข้อมูลให้ได้มากที่สุด หรือในอีกมุมหนึ่ง องค์กรอาจจำเป็นต้องกำหนดนโยบายการใช้งานโทรศัพท์มือถือของพนักงานทั้งหมด เพื่อควบคุมหรือจำกัดการเข้าถึงข้อมูลขององค์กรเป็นหลัก ซึ่งในเอกสารฉบับนี้จะอธิบายถึงความสามารถของโทรศัพท์มือถือในปัจจุบัน ข้อแตกต่างระหว่างโทรศัพท์มือถือทั่วไปที่มีราคาต่ำ ไปจนถึงโทรศัพท์มือถือที่เรียกกันว่า Smart Phone ที่มีราคาและความสามารถสูงขึ้น รวมถึงได้มีการรวบรวมรายละเอียดเกี่ยวกับภัยคุกคามและความเสี่ยงของเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการใช้อุปกรณ์เหล่านี้ มาตรการป้องกันและแนวทางปฎิบัติของผู้ใช้งานโทรศัพท์มือถือ เพื่อควบคุมมิให้เกิดความเสียหายต่อตัวผู้ใช้งานและองค์กร 

ประเภทของโทรศัพท์มือถือ

  • Basic Phone เป็นโทรศัพท์มือถือทั่วไปที่มักจะมีเพียงฟังก์ชั่นพื้นฐานในการโทรศัพท์และการรับส่งข้อความสั้น (SMS) อาจมีวิวัฒนาการในการแสดงผลแบบจอภาพสีหรือขาวดำ ตัวอย่างเช่น Nokia 3310 เป็นต้น
  • Smart Phone เป็นโทรศัพท์มือถือที่มีความสามารถพิเศษคล้ายคอมพิวเตอร์ รองรับระบบปฎิบัติการต่างๆ ที่เพิ่มเติมความสามารถของ PDA (Personal Digital Assistant) ให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น รองรับการทำงานมัลติมีเดียหลายรูปแบบ รองรับการติดต่อสื่อสารแบบไร้สาย เช่น Bluetooth, GPRS, EDGE, 3G และ WiFi เป็นต้น ในการติดต่อสื่อสาร โดยส่วนใหญ่มักจะใช้ควบคู่กับบริการเสริมจากโอเปอเรเตอร์ โดยในประเทศไทยมีโอเปอเรเตอร์หลักๆ อยู่ 3 รายด้วยกัน คือ AIS, DTAC และ Truemove ดังนั้น Smart Phone จึงไม่ได้เป็นแค่โทรศัพท์มือถือที่เพียงใช้ในการรับสายเข้า โทรออก ฟังเพลง หรือ ถ่ายวีดีโอ เท่านั้น แต่ยังสามารถรองรับการใช้งานระดับเครือข่ายที่มีการติดต่อสื่อสารทั่วโลก เช่น การติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ แบ่งปันข้อมูลออนไลน์ การโทรศัพท์ผ่าน VoIP เป็นต้น ยังไม่รวมถึงระบบปฏิบัติการบนมือถือของแต่ละค่ายที่มีอยู่ในตลาดอย่างมากมาย [2] ไม่ว่าจะเป็น Apple iOS Google Android Microsoft Windows Phone Nokia Symbian และ Research in Motion (RIM) BlackBerry OS เป็นต้น ซึ่งระบบปฏิบัติการแต่ละค่ายต่างก็มีความสามารถในการติดตั้งโปรแกรมเพิ่มเติม และยังสามารถอัพเดทข้อมูลที่เป็นจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ตารางนัดหมาย ระหว่างมือถือกับเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ตรงกันได้ ซึ่งจากข้อมูลความสามารถของโทรศัพท์ที่ได้กล่าวไป ทำให้เห็นว่าวิวัฒนาการของโทรศัพท์มือถือในปัจจุบันสามารถทำงานได้เปรียบเสมือนคอมพิวเตอร์ขนาดย่อมเคลื่อนที่เลยก็ว่าได้ โดยต่อไปจะเป็นการอธิบายถึงภัยคุกคามต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานโทรศัพท์มือถือในปัจจุบันและแนวทางในการป้องกัน เพื่อให้ผู้อ่านได้รับทราบและป้องกันภัยได้ด้วยตนเอง ซึ่งได้มีการรวบรวมข้อมูลต่างๆ ไว้ดังนี้

ภัยคุกคามบนโทรศัพท์มือถือ

ภัยคุกคามจากการใช้งานโปรแกรมบนโทรศัพท์มือถือ (Application-Based Threats) 
โปรแกรมจำนวนมากที่ถูกดาวน์โหลดมาเพื่อติดตั้งบนอุปกรณ์มือถือ พบว่ายังไม่สามารถตรวจสอบลักษณะการทำงานในด้านความปปลอดภัยได้ ทำให้ผู้ใช้งานไม่สามารถล่วงรู้ได้เลยว่าโปรแกรมที่ติดตั้งไปเพื่อใช้ประโยชน์มากมายนั้น จะถูกแฝงมาด้วยปัญหาด้านความปลอดภัยหรือไม่ โดยภัยคุกคามที่มากับโปรแกรมที่ติดตั้งสามารถเป็นได้มากกว่าหนึ่งประเภทดังที่จะกล่าวดังต่อไปนี้
  • มัลแวร์ (Malware) คือโปรแกรมที่ถูกออกแบบมาเพื่อแสดงพฤติกรรมที่เป็นอันตรายต่อข้อมูลในโทรศัพท์มือถือนั้นๆ ตัวอย่างเช่น สั่งให้โทรศัพท์มือถือเครื่องนั้นๆ ส่งข้อความที่ไม่พึงประสงค์ออกไปยังรายการผู้ติดต่อในโทรศัพท์ โดยที่ผู้ใช้งานหรือเจ้าของโทรศัพท์นั้นไม่รู้ตัว หรือขโมยข้อมูลบนโทรศัพท์มือถือนั้น ซึ่งในกรณีที่ผู้ใช้งานเก็บข้อมูลบัญชีผู้ใช้ของตนเองหรือของผู้เกี่ยวข้องไว้ในโทรศัพท์ก็อาจทำให้เกิดการเข้าโจรกรรมข้อมูลที่เกี่ยวข้องต่อไปได้
  • สปายแวร์ (Spyware) คือโปรแกรมที่ถูกออกแบบมาเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆ ของผู้ใช้งาน โดยเป้าหมายส่วนใหญ่ของสปายแวร์มักมุ่งไปยัง ประวัติการใช้งานโทรศัพท์ ข้อความ ที่อยู่ รายชื่อผู้ติดต่อ อีเมล รวมถึงภาพถ่าย ซึ่งสปายแวร์โดยทั่วไปมักได้รับการออกแบบสำหรับการเฝ้าติดตามการใช้งานของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือการใช้งานที่เกี่ยวข้องกับองค์กร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวิธีการที่จะใช้สปายแวร์ที่กำหนดเป้าหมาย ซึ่งไม่จำเป็นเสมอไปที่ผู้ลักลอบติดตั้งโปรแกรมประเภทนี้จะเป็นผู้มีจุดประสงค์ร้ายทั้งหมด เนื่องจากมีความเป็นไปได้ว่าโปรแกรมประเภทนี้ถูกติดตั้งโดยผู้ที่เป็นผู้ปกครองซึ่งมีความหวังดีต่อผู้ใช้งาน เช่น ผู้ปกครองติดตั้งโปรแกรมการตรวจสอบสถานที่การใช้งานบนโทรศัพท์มือถือของลูกที่อยู่ในการดูแล
    การเข้าโจมตีผู้ใช้งานและโทรศัพท์มือถือด้วยมัลแวร์และสปายแวร์ ส่วนใหญ่ จะพบว่าใช้เทคนิคในการหลอกลวงผู้ใช้งานให้การดาวน์โหลดโปรแกรมมาติดตั้งโดยไม่รู้ตัว เช่น ให้คลิกที่ลิงก์ซึ่งดูเหมือนไม่น่าจะมีความผิดปกติอะไร แต่จริงๆแล้วนั่นคือการสั่งให้ดาวน์โหลดและติดตั้งมัลแวร์ลงในโทรศัพท์มือถือดังกล่าว และเมื่อมัลแวร์หรือสปายแวร์ติดตั้งโปรแกรมเสร็จแล้วก็จะสู่กระบวนการโจมตีในลักษณะต่างๆ ต่อไป นอกจากนี้ยังมีการหลอกลวงในลักษณะที่พบเห็นได้บ่อยครั้งคือการ Repackaging ซึ่งเป็นเทคนิคที่พบบ่อยมากในนักเขียนมัลแวร์ที่พยายามจะใช้ชื่อโปรแกรมที่มีการทำงานถูกต้องตามกฎหมาย แต่ได้มีการปรับเปลี่ยนการทำงานของโปรแกรม รวมถึงแทรกโค้ดที่เป็นอันตรายไว้ในเวอร์ชันที่เตรียมจะเผยแพร่ จากนั้นจึงทำการเผยแพร่ไปยังแหล่งให้ดาวน์โหลดโปรแกรมต่างๆ ทั่วไป รวมถึงบนเว็บไซต์ที่ให้ดาวน์โหลดโปรแกรมบนโทรศัพท์มือถือ เพื่อหลอกให้ผู้ใช้งานเข้าใจผิดและติดตั้งโปรแกรมดังกล่าวบนโทรศัพท์มือถือ ซึ่งเทคนิคการ Repackaging ได้ผลลัพธ์ในการโจมตีค่อนข้างสูงเนื่องจากการอ้างอิงชื่อโปรแกรมที่เคยพัฒนามาแล้ว โดยจะพบได้จากในช่วงต้นปี 2011 นักเขียนมัลแวร์บนระบบปฎิบัติการ Android ใช้เทคนิคในการ Repackaging ซึ่งสามารถอ้างอิงข้อมูลได้ตามรูปด้านล่าง 
    • ช่องโหว่ในโปรแกรมที่ใช้งาน คือ พฤติกรรมการทำงานของโปรแกรมที่มีความผิดพลาด โดยถูกค้นพบและสามารถนำมาใช้ประโยชน์เพื่อวัตถุประสงค์ที่เป็นอันตราย ซึ่งการค้นพบช่องโหว่ดังกล่าวมักจะส่งผลให้ผู้ค้นพบสามารถโจมตีโดยการเข้าถึงข้อมูลที่สำคัญหรือการดำเนินการที่ไม่พึงประสงค์ ซึ่งช่องโหว่ดังกล่าวมักถูกแจ้งไปยังผู้พัฒนา เพื่ออัพเดทโปรแกรมแก้ไข โดยหลังจากมีการแก้ไขช่องโหว่แล้ว ผู้พัฒนาจะแจ้งการอัพเดทโปรแกรมกลับมายังผู้ใช้งานอีกครั้งหนึ่ง
  • ภัยคุกคามที่เกิดจากการใช้งานเว็บไซต์บนโทรศัพท์มือถือ (Web-based Threats)
    เนื่องจากโทรศัพท์มือถือส่วนใหญ่สามารถใช้งานการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้จากเครือข่ายไร้สายทั่วไป ซึ่งทำให้เกิดความสะดวกสำหรับผู้ใช้งานในการเข้าถึงเว็บไซต์หรือบริการอื่นๆ ซึ่งโดยทั่วไปบริการส่วนใหญ่สามารถใช้งานผ่านหน้าเว็บไซต์ได้เป็นหลักและเป็นบริการที่ผู้ใช้งานมีความต้องการใช้งาน เช่น การอ่านอีเมล การใช้งานธุรกรรมออนไลน์ การเข้าระบบที่เป็นสื่อสังคมออนไลน์ เป็นต้น โดยภัยคุกคามที่เกิดขึ้นกับเว็บไซต์มักไม่มีข้อจำกัดทางด้านระบบปฎิบัติการที่ใช้อยู่ ณ ขณะนั้น เช่น การโจมตีแบบฟิชชิ่ง ซึ่งจะกล่าวในรายละเอียดต่อไป โดยภัยคุกคามดังที่กล่าวนี้แต่ก่อนอาจพบว่ามีแต่ที่เจอในการใช้งานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไป ในปัจจุบันได้ขยายวงกว้างมายังโทรศัพท์มือถือด้วย เนื่องจากลักษณะการใช้งานที่ค่อนข้างจะใกล้เคียงกันมากในทุกวันนี้ โดยสามารถระบุภัยคุกคามต่างๆ ได้ดังนี้
    • ฟิชชิ่ง (Phishing) [4] คือการหลอกลวงชนิดหนึ่งโดยใช้หน้าเว็บไซต์หรือส่วนติดต่อผู้ใช้อื่น ๆ ที่ออกแบบให้มีลักษณะคล้ายคลึงกับของจริง เพื่อหลอกให้ผู้ใช้กรอกข้อมูลเข้าสู่ระบบของผู้หลอกลวง เช่น ผู้หลอกลวงพัฒนาหน้าเว็บไซต์ล็อกอินของ Facebook และส่งลิงก์หลอกลวงโดยแจ้งข้อมูลอันเป็นเท็จให้ผู้ใช้งานเข้าอัพเดทข้อมูลส่วนบุคคลโดยเป็นลิงก์ของหน้าล็อกอินที่ทำขึ้นมาดังที่กล่าวไว้ตอนต้น เมื่อผู้ใช้งานพยายามล็อกอินเข้าไปยังระบบ จะทำให้ผู้หลอกลวงดังกล่าวสามารถดักจับข้อมูลอันน่าเชื่อได้ว่าเป็นข้อมูลล็อกอินของผู้ใช้งานคนนั้นๆ ทำให้ข้อมูลหรือบัญชีการใช้งานนั้นๆ มีความเสี่ยงที่จะโดนขโมยข้อมูลออกไป ซึ่งลิงก์ที่เป็นการฟิชชิ่งเหล่านี้ส่วนใหญ่มักจะแนบไปกับอีเมล หรือเป็นลิงก์ซึ่งมีเนื้อหาเชิญชวนต่างๆ โดยความรุนแรงของการถูกขโมยข้อมูลดังกล่าวอาจไม่ส่งผลกระทบในทันทีถ้าหากมีการเข้ายับยั้งได้ทัน เช่น เมื่อทราบว่าได้มีการส่งข้อมูลเข้าหน้าเว็บไซต์ฟิชชิ่งไปแล้ว จึงรีบเข้าเปลี่ยนรหัสผ่านในหน้าเว็บไซต์ของระบบจริงทันที ก็จะทำให้ความเสียหายไม่เกิดขึ้นในวงกว้าง แต่หากผู้ใช้งานปล่อยให้ผู้หลอกลวงสามารถเข้าถึงบัญชีการใช้งานต่างๆ ซึ่งในกรณีที่เป็นระบบที่มีความเสียหายรุนแรง เช่น ระบบธุรกรรมออนไลน์ (e-Transaction) นั่นเท่ากับผู้หลอกลวงจะสามารถใช้เงินในบัญชีผู้ใช้งานนั้นได้ทันที
    • ช่องโหว่ของโปรแกรมประเภทเบราว์เซอร์ คือ ช่องโหว่ที่ถูกพบในโปรแกรมเบราว์เซอร์หรือโปรแกรมปลั๊กอินที่สามารถติดตั้งเพิ่มเติมได้ในเบราว์เซอร์ เช่น Flash player หรือ PDF Reader เพื่อวัตถุประสงค์อันตราย โดยลักษณะและวิธีการโจมตีอาจเป็นเพียงแค่การให้ผู้ใช้งานเข้าชมหน้าเว็บไซต์เท่านั้น จากนั้นจะทำให้ผู้ใช้งานติดมัลแวร์หรือโปรแกรมอันตรายต่างๆ ที่ผู้โจมตีใช้สำหรับช่องโหว่ดังกล่าว
      • ช่องโหว่ในโปรแกรมที่ใช้งาน คือ พฤติกรรมการทำงานของโปรแกรมที่มีความผิดพลาด โดยถูกค้นพบและสามารถนำมาใช้ประโยชน์เพื่อวัตถุประสงค์ที่เป็นอันตราย ซึ่งการค้นพบช่องโหว่ดังกล่าวมักจะส่งผลให้ผู้ค้นพบสามารถโจมตีโดยการเข้าถึงข้อมูลที่สำคัญหรือการดำเนินการที่ไม่พึงประสงค์ ซึ่งช่องโหว่ดังกล่าวมักถูกแจ้งไปยังผู้พัฒนา เพื่ออัพเดทโปรแกรมแก้ไข โดยหลังจากมีการแก้ไขช่องโหว่แล้ว ผู้พัฒนาจะแจ้งการอัพเดทโปรแกรมกลับมายังผู้ใช้งานอีกครั้งหนึ่ง
    • ภัยคุกคามที่เกิดจากการใช้งานเว็บไซต์บนโทรศัพท์มือถือ (Web-based Threats)
      เนื่องจากโทรศัพท์มือถือส่วนใหญ่สามารถใช้งานการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้จากเครือข่ายไร้สายทั่วไป ซึ่งทำให้เกิดความสะดวกสำหรับผู้ใช้งานในการเข้าถึงเว็บไซต์หรือบริการอื่นๆ ซึ่งโดยทั่วไปบริการส่วนใหญ่สามารถใช้งานผ่านหน้าเว็บไซต์ได้เป็นหลักและเป็นบริการที่ผู้ใช้งานมีความต้องการใช้งาน เช่น การอ่านอีเมล การใช้งานธุรกรรมออนไลน์ การเข้าระบบที่เป็นสื่อสังคมออนไลน์ เป็นต้น โดยภัยคุกคามที่เกิดขึ้นกับเว็บไซต์มักไม่มีข้อจำกัดทางด้านระบบปฎิบัติการที่ใช้อยู่ ณ ขณะนั้น เช่น การโจมตีแบบฟิชชิ่ง ซึ่งจะกล่าวในรายละเอียดต่อไป โดยภัยคุกคามดังที่กล่าวนี้แต่ก่อนอาจพบว่ามีแต่ที่เจอในการใช้งานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไป ในปัจจุบันได้ขยายวงกว้างมายังโทรศัพท์มือถือด้วย เนื่องจากลักษณะการใช้งานที่ค่อนข้างจะใกล้เคียงกันมากในทุกวันนี้ โดยสามารถระบุภัยคุกคามต่างๆ ได้ดังนี้
      • ฟิชชิ่ง (Phishing) [4] คือการหลอกลวงชนิดหนึ่งโดยใช้หน้าเว็บไซต์หรือส่วนติดต่อผู้ใช้อื่น ๆ ที่ออกแบบให้มีลักษณะคล้ายคลึงกับของจริง เพื่อหลอกให้ผู้ใช้กรอกข้อมูลเข้าสู่ระบบของผู้หลอกลวง เช่น ผู้หลอกลวงพัฒนาหน้าเว็บไซต์ล็อกอินของ Facebook และส่งลิงก์หลอกลวงโดยแจ้งข้อมูลอันเป็นเท็จให้ผู้ใช้งานเข้าอัพเดทข้อมูลส่วนบุคคลโดยเป็นลิงก์ของหน้าล็อกอินที่ทำขึ้นมาดังที่กล่าวไว้ตอนต้น เมื่อผู้ใช้งานพยายามล็อกอินเข้าไปยังระบบ จะทำให้ผู้หลอกลวงดังกล่าวสามารถดักจับข้อมูลอันน่าเชื่อได้ว่าเป็นข้อมูลล็อกอินของผู้ใช้งานคนนั้นๆ ทำให้ข้อมูลหรือบัญชีการใช้งานนั้นๆ มีความเสี่ยงที่จะโดนขโมยข้อมูลออกไป ซึ่งลิงก์ที่เป็นการฟิชชิ่งเหล่านี้ส่วนใหญ่มักจะแนบไปกับอีเมล หรือเป็นลิงก์ซึ่งมีเนื้อหาเชิญชวนต่างๆ โดยความรุนแรงของการถูกขโมยข้อมูลดังกล่าวอาจไม่ส่งผลกระทบในทันทีถ้าหากมีการเข้ายับยั้งได้ทัน เช่น เมื่อทราบว่าได้มีการส่งข้อมูลเข้าหน้าเว็บไซต์ฟิชชิ่งไปแล้ว จึงรีบเข้าเปลี่ยนรหัสผ่านในหน้าเว็บไซต์ของระบบจริงทันที ก็จะทำให้ความเสียหายไม่เกิดขึ้นในวงกว้าง แต่หากผู้ใช้งานปล่อยให้ผู้หลอกลวงสามารถเข้าถึงบัญชีการใช้งานต่างๆ ซึ่งในกรณีที่เป็นระบบที่มีความเสียหายรุนแรง เช่น ระบบธุรกรรมออนไลน์ (e-Transaction) นั่นเท่ากับผู้หลอกลวงจะสามารถใช้เงินในบัญชีผู้ใช้งานนั้นได้ทันที
      • ช่องโหว่ของโปรแกรมประเภทเบราว์เซอร์ คือ ช่องโหว่ที่ถูกพบในโปรแกรมเบราว์เซอร์หรือโปรแกรมปลั๊กอินที่สามารถติดตั้งเพิ่มเติมได้ในเบราว์เซอร์ เช่น Flash player หรือ PDF Reader เพื่อวัตถุประสงค์อันตราย โดยลักษณะและวิธีการโจมตีอาจเป็นเพียงแค่การให้ผู้ใช้งานเข้าชมหน้าเว็บไซต์เท่านั้น จากนั้นจะทำให้ผู้ใช้งานติดมัลแวร์หรือโปรแกรมอันตรายต่างๆ ที่ผู้โจมตีใช้สำหรับช่องโหว่ดังกล่าว
    • ภัยคุกคามจากการใช้งานเครือข่าย (Network Threats)
      โทรศัพท์มือถือในปัจจุบันมักจะสนับสนุนการใช้งานเครือข่ายไร้สาย ซึ่งมีผู้ให้บริการเป็นจำนวนมาก ทั้งที่น่าเชื่อถือและไม่สามารถตรวจสอบได้ โดยมีภัยคุกคามที่สามารถส่งผลกระทบต่อการใช้งานบนโทรศัพท์มือถือต่างๆ ได้ดังนี้
      • การเปลี่ยนสถานะจากผู้ใช้งานเป็นผู้โจมตี ผ่านข้อบกพร่องของระบบปฎิบัติการบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ ส่งผลให้โทรศัพท์เคลื่อนที่สามารถส่งต่อหรือแพร่กระจายมัลแวร์ได้โดยอัตโนมัติ ผ่านการทำงานบนเครือข่าย เช่น เครือข่ายไร้สาย (WiFi) หรือ บลูทูธ (Bluetooth)
      • การถูกดักจับข้อมูลบนเครือข่ายไร้สาย (WiFi sniffing) [5] คือลักษณะการขโมยข้อมูลบนเครือข่ายไร้สาย ซึ่งโดยทั่วไปเป็นข้อมูลที่รับส่งกันโดยไม่ได้มีการเข้ารหัสความปลอดภัยที่เหมาะสม ทำให้มีโอกาสถูกลักลอบขโมยข้อมูลได้โดยง่าย เพียงแค่ใช้เทคนิคและวิธีในการดักจับข้อมูลจากโปรแกรมประเภท Sniffer ซึ่งหาข้อมูลได้ตามเว็บไซต์ทั่วไป โดยในที่นี้ขอยกตัวอย่างวิธีการใช้งานโปรแกรมชื่อ Firesheep ซึ่งเป็นปลั๊กอินบนเบราว์เซอร์ Firefox ที่ใช้ในการดักจับข้อมูลในเครือข่ายเดียวกัน ซึ่งส่วนใหญ่เป้าหมายมักใช้งานเครือข่ายไร้สายสาธารณะ และไม่ได้เชื่อมต่อบริการเว็บไซต์ที่มีการเข้ารหัส HTTPS โดยลักษณะการทำงานของโปรแกรมจะมีการดักจับข้อมูลแล้วกรองข้อมูลเพื่อค้นหา Cookie ซึ่งคือข้อมูลที่ใช้ระบุตัวตนกับเว็บไซต์ที่เข้าใช้บริการ โดยข้อมูล Cookie ที่กล่าวถึงจะถูกเก็บไว้ในเบราว์เซอร์ของผู้ใช้งานหลังจากที่มีการล็อกอินเว็บไซต์ จากนั้นโปรแกรมจะแสดงรายการที่ดักจับได้ทั้งหมด ซึ่งผู้ใช้งานโปรแกรมสามารถคลิกที่รายการดังกล่าวเพื่อสวมรอยเข้าเป็นผู้ใช้งานนั้นๆ ดังแสดงในรูปด้านล่าง

      • ภัยคุกคามจากการดูแลรักษาโทรศัพท์ (Physical Threats) 
      • เนื่องจากโทรศัพท์มือถือเป็นอุปกรณ์ซึ่งออกแบบให้พกพาและติตตัวไปมาได้สะดวก จึงมีรูปแบบที่ค่อนข้างเล็ก ซึ่งจากสภาพการณ์ปัจจุบันโทรศัพท์เป็นของมีค่าสำหรับมิจฉาชีพ รวมไปถึงมีค่าสำหรับกลุ่มคนบางกลุ่มที่ต้องการได้มาซึ่งข้อมูลส่วนบุคคล จึงได้แยกภัยคุกคามที่เกิดจากการดูแลรักษาโทรศัพท์มือถือไว้เพื่อพิจารณาความสำคัญอยู่ 2 ประเภทดังนี้
        • การสูญหายหรือการถูกขโมยโทรศัพท์มือถือ เนื่องด้วยปัจจุบันโทรศัพท์มือถือมีราคาสูงขึ้น อาจเพราะสาเหตุของเทคโนโลยีที่อยู่ในอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือ หรือเพราะค่านิยมทางสังคมที่ทำให้ต้องใช้โทรศัพท์มือถือราคาแพง แต่ไม่ว่าจะกรณีไหนก็ตามการใช้งานโทรศัพท์มือถือในปัจจุบันนับเป็นเป้าหมายของกลุ่มมิจฉาชีพทั่วไป เนื่องจากเป็นอุปกรณ์พกพาขนาดเล็ก มีโอกาสถูกขโมยได้ง่าย และมีตลาดที่มีความต้องการหรือรองรับการซื้อขายได้มากมายโดยที่ไม่มีการตรวจสอบแหล่งที่มา ทำให้มีความเสี่ยงสูงที่ผู้ใช้งานจะมีโอกาสถูกกลุ่มมิจฉาชีพขโมยโทรศัพท์มือถือ หรือด้วยขนาดของอุปกรณ์มือถือที่เล็กอยู่แล้วอาจทำให้มีโอกาสที่จะลืมหรือทำตกหล่นได้ง่าย
การถูกขโมยข้อมูลส่วนบุคคล สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาและทุกสถานการณ์ทั้งโดยตั้งใจแต่แรกหรือเป็นเพราะโอกาสที่เปิดกว้างจนทำให้ผู้อื่นสบโอกาสที่จะขโมยข้อมูลส่วนบุคคล มักเกิดขึ้นจากความไม่ใส่ใจและความไม่ตระหนักถึงความปลอดภัยของข้อมูลภายในโทรศัพท์มือถือ ทำให้ผู้ไม่หวังดีขโมยข้อมูลส่วนบุคคลไปได้โดยง่าย เช่น การแอบดูข้อมูลการล๊อกอินเข้าสู่ระบบจากโทรศัพท์มือถือ หรือการนำโทรศัพท์มือถือไปซ่อมที่ร้านโดยไม่ได้ทำการเคลียร์ข้อมูลการใช้งานก่อน โดยข้อมูลส่วนบุคคลที่หมายถึงอาจไม่ใช่เพียงข้อมูลส่วนตัวเพียงเท่านั้นแต่จะพบว่าเป็นข้อมูลขององค์กรด้วย อาจเป็นเอกสารขององค์กร ข้อมูลรายชื่อผู้ติดต่องาน รวมไปถึงข้อมูลที่อยู่ในระบบต่างๆ เช่น ข้อมูลบัญชีธนาคาร ข้อมูลอีเมลขององค์กร ซึ่งข้อมูลทั้งหมดที่กล่าวมานั้น หากถูกขโมยข้อมูลขึ้นมาจริงแล้ว คงไม่สามารถประเมินมูลค่าความเสียหายได้เป็นอย่างแน่นอน 
อ้างอิง  https://www.thaicert.or.th/papers/general/2011/pa2011ge010.html




วิธีเลือกซื้อสมาร์ทโฟน

วิธีเลือกซื้อสมาร์ทโฟน

วิธีเลือกซื้อสมาร์ทโฟน อย่างคุ้มค่า
คำแนะนำก่อนซื้อสมาร์ทโฟนยุคใหม่ ฉบับเจาะลึก!!!!
ปัจจุบันสมาร์ทโฟนแอนดรอยนั้นมีมากมีหลากหลายรุ่นหลากหลายแบบ หลากหลายราคา ซึ่งข้อดีของมันคือทำให้มีตัวเลือกให้เลือกซื้อมากมาย ปัญหาคือ เราจะเลือกแบบไหนให้ตรงกับการใช้งานของเรามากที่สุด หรือตัวไหน ที่เราชอบเราโดนใจ แต่สเปกมันเหมาะกับเรารึป่าว มาดูกันเลย
Smartphones2
1.หน้าจอ
หน้า จอบนสมาร์ทโฟนนั้น ตอนนี้เรียกว่าเป็นตัวเลือกแรกสำหรับหลายๆคนเลยนะครับ ขนาดของจอนั้นก็มีหลากหลายแบบครับ ตั้งแต่ 2.8 นิ้ว ไปจนถึง 4.7 นิ้วในสมาร์ทโฟน และ 5 ถึง 5.5 นิ้วสำหรับ โฟนเล็ต และ 7 ถึง 10.1 นิ้ว สำหรับแท็บเล็ตครับ มันยังไม่จบแค่นั้นครับ เราต้องดูด้วยว่า จอขนาดที่เราต้องการนั้นเน้นกว้างหรือเน้นยาว ด้วยการดูอัตราส่วน ถ้าชอบแบบกว้างก็จะเป็นข้อดีในการพิมพ์และเหมาะกับคนนิ้วใหญ่ แต่ถ้าเน้นจอยาวก็ได้เน้นด้านมัลติมีเดียและการเล่นเกมที่สะดวก
interface4
2.ความแข็งแรงของหน้าจอ
สมาร์ท โฟนในปัจจุบันนั้นมีราคาสูง และมีความบาง + ดีไซร์ที่สวยงาม เพราะฉะนั้น เราเสียเงินซื้อมันมาก็ต้องดูแลให้ดีเป็นพิเศษ แต่ปัญหาคือบางครั้งเราอาจจะไม่ได้ระมัดระวังมากเท่าที่ควร หรือไม่ว่างพอที่จะหาอะไรมาป้องกันสมาร์ทโฟนของเรา แต่ดีที่ปัจจุบันสมาร์ทโฟนหันมาใช้เทคโนโลยีกระจกจอกันรอยขีดข่วน เพราะถึงแม้เราจะไม่ไปติดฟิลม์ที่ร้าน สมาร์ทโฟนตัวเก่งของคุณก็จะมีคุณสมบัติที่ทนทานต่อรอยนานาชนิด แต่ถ้าไม่ไว้วางใจก็ไปติดฟิลม์ก็ได้
3.User Interface (UI) หรือ Sense
แต่ ละค่ายที่ผลิตสมาร์ทโฟนแอนดรอยหลักๆเลยคือ ASUS Acer HTC Samsung LG Sony Motorola OPPO Huawei ซึ่งแต่ละค่ายนั้นจะมีจุดเด่นที่แตกต่างกันออกไป แต่ที่แน่ๆเลยก็คือ UI หรือ Sense ที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง มันไม่ได้แตกต่างกันที่ความสวยงามนะครับ มันยังรวมไปถึงการใช้งานของตัวเครื่องเกือบทั้งหมด บาง UI ทำให้การใช้งานง่ายขึ้น เครื่องเร็วขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้เครื่องมากขึ้น และมีลูกเล่นที่ไม่เหมือนใครในสมาร์ทโฟนของค่ายนั้นๆ ซึ่งใครชอบแบบไหนก็แล้วแต่สไตล์เลยครับ ถึงแม้ว่าปัจจุบันจะมี Launcher ที่จะปรับแต่งให้สมาร์ทโฟนของคุณสวยและมีให้เลือกมากมาย แต่ก็ครอบ UI ของคุณอีกที มาดูกันครับว่า UI ของแต่ละค่ายเป็นยังไง

smartphones4
4.OS หรือ ระบบปฏิบัติการ
นี่ เป็นหัวใจสำคัญที่สุดในการเลือกซื้อสมาร์ทโฟน คุณต้องรู้ก่อนว่าระบบไหนตอบโจทย์คุณได้ดีที่สุด ศึกษาวิธีใช้ด้วยการดูรีวิวบนอินเตอร์เน็ตหรือดูวิดิโอจากยูทูป การไปเล่นของคนรู้จักหรือไปลองเล่นที่ร้านแล้วให้พนักงานแนะนำเลยก็ได้ครับ คนแต่ละคนไม่เหมือนกันนะครับ เพราะฉะนั้นก็จะชอบอะไรที่แตกต่างกัน และการตอบโจทย์ของระบบปฏิบัติการที่แตกต่างกัน เน้นแชต ก็หนักไปทาง BB เน้นมัลติมีเดียก็ไปทาง IOS แต่ถ้าเน้นมัลติมีเดียและการแชร์ที่ง่ายดายก็ Android หากชอบแบบไหนก็ศึกษาตัวนั้นให้ดีก่อนที่จะซื้อ หากซื้อมาเล่นไม่เป็นมันก็จะยุ่ง แต่นั่นไม่ใช่ปัญหาครับ เพราะเล่นไปสักพักเดี๋ยวก็เป็น แต่ประเด็นคือ ซื้อมาแล้วคุณได้ใช้ประโยชน์จากมันมากน้อยแค่ไหน
interface

5.
หากหนักไปทางแอนดรอยดูทางนี้
แน่นอนว่าถ้าพูดถึงระบบปฏิบัติการเกินครึ่งของผู้อ่านจะนึกถึง Android เป็นอันดับแรก แต่เนื่องจากตลาดในปัจจุบันมีแอนดรอยโฟนเยอะมาก ทำให้เรามีตัวเลือกเยอะ ซึ่งในบรรดาสมาร์ทโฟนแอนดรอยทั้งหมดนั้นจะมีเวอร์ชั่นที่แตกต่างกันไป ตั้ง 1.6 2.0 2.1 2.2 2.3 3.0 3.2 4.0 แน่นอนว่าหลายๆเครื่องสมาร์ทที่จะอัพเป็นเวอร์ชั่นล่าสุดได้ แต่ถ้ารุ่นที่เราอยากได้ดันอัพเป็นเวอร์ชั่นล่าสุดไม่ได้ ผมจะพาไปดูประวัติแอนดรอยกัน
6.สเปกตัวเครื่อง
นี่ ก็เป็นอีกสิ่งที่เราต้องดูต้องศึกษาก่อนซื้อสมาร์ทโฟนครับ เพราะถ้าเราอยากได้สมาร์ทโฟนที่แรง เร็ว เราก็ต้องเลือกสมาร์ทโฟนที่มีสเปกสูงๆ อันประกอบไปด้วย Ram CPU และอีกหลายๆองค์ประกอบครับ เพราะแอนดรอยนั้นมีหลากหลายปัจจัยที่ทำให้เครื่องแรง ไม่ว่าจะเป็น UI ที่ใช้ จำนวนแอปที่มีในเครื่อง มีส่วนหมดครับ อยากได้เครื่องแรงก็ต้องเลือก CPU ที่แรงเร็ว Single Core (1 คอร์ประมวลผล) Dual Core (2 คอร์ช่วยกันประมวลผล) และ Quad Core (4 สมอง 2มือ 555) แต่ปัยหาคือ CPU นั้นมีหลากหลายยี่ห้อ แต่ละยี่ห้อนั้นก็มีความเร็วและ GPU ที่แตกต่างกันด้วย 
7.ระบบสั่งงานด้วยเสียง 
หรือ ชื่อเป็นทางการคือ Intelligent Personal Assistant เป็นระบบเก่าที่เอามาเล่าใหม่ พร้อมใส่ลูกเล่นสุดล้ำ ทำให้ปัจจุบันคนสนใจและตื่นตัวกับระบบนี้กันมากครับ แต่ข้อจำกัดคือ ถึงตอนนี้ระบบสั่งงานด้วยเสียงจะมีหลากหลายตัว ซึ่งแต่ละตัวจะถูกฝั่งอยู่ในระบบปฏิบัติการนั้นๆเลย ทำให้ไม่สามารถย้ายไปลงเครื่องอื่นได้ อยากใช้อันไหนต้องซื้อสมาร์ทโฟนระบบนั้นๆ ถึงแม้ว่าจะมีแอปเกี่ยวกับพวก Intelligent Personal Assistant ออกมาแต่ก็ไม่สู้กับตัวที่ติดมากับ OS (หรือมี!!!) ผมจะพาไปดูระบบ Intelligent Personal Assistant 4 ตัวครับ ว่ามีตัวไหนน่าสนใจที่สุด
8.ล้ำยุคไปกับเทคโนโลยี Bluetooth 3.0 และ NFC
2 ระบบนี้เป็นระบบที่ใหม่(ก็ไม่ใหม่เท่าไหร่นะ) แต่ความสามารถของมันนั้นเยอะและล้ำสุดๆครับ Bluetooth เป็นเทคโนโลยีที่มีมานานจนมาถึงเวอร์ชันปัจจุบัน คือ 3.0 ซึ่งเพิ่มความสามารถที่หลากหลายขึ้น ส่วนเจ้า NFC เป็นน้องใหม่ที่มีมาได้สักพักใหญ่ๆละ แต่พึ่งจะมาดังในช่วงต้นปี 2012 ที่ผ่านมา NFC ไม่ได้มาแทนที่เทคโนโลยี Bluetooth แต่มาเสริมช่องว่างที่ Bluetooth ไม่มี Bluetooth เค้าก็ยังคงรักษาการส่งไฟล์คุณภาพอยู่ แต่ NFC ก็จะเน้นไปที่การใช้งานเล็กๆน้อยๆ แต่รวดเร็ว ซึ่งปัจจุบันสมาร์ทโฟนใหม่ๆก็รองรับทั้ง 2 เทคโนโลยี
9.กล้อง
กล้อง บนสมาร์ทโฟนในปัจจุบันมีความละเอียดสูงมากครับ ตั้งแต่ VGA 1.6 ไปจนถึง 12.1 ล้านพิกเซล หากเราไปเจอสมาร์ทโฟนที่อยากได้แต่ดันมีความละเอียดกล้องเท่ากัน เราลองมามองในส่วนของลูกเล่นกล้องดู ว่ามีอะไรที่แตกต่างกันบ้าง 
10.ราคาและความคุ้มค่า
มา ถึงข้อสุดท้ายหากเลือกสมาร์ทโฟนที่ชอบได้แล้วก่อนซื้อก็ต้องมาเช็คราคากันก่อนว่าเหมาะสมกับสเปกมั้ย หรือว่ามีรุ่นที่สเปกเหมือนกัน ไกล้เคียงกัน แต่มีราคาที่ถูกกว่า อีกวิธีคือ เช็คศูนย์ต่างๆว่าราคาเครื่องเป็นยังไง มีโปรโมชันของแถมอะไรมั้ย เราอาจจะเลือกไปร้านหรือศูนย์ที่ถูกที่สุดก็ได้แต่ถ้าไม่ไหวจริงๆต้องการมากแต่งบไม่ถึง จะลองหันไปเล่นสมาร์ทโฟนมือ 2 ก็ได้
ระบบปฏิบัติการสมาร์ตโฟน ที่มีให้เลือกอยากมากมายในปัจจุบัน วัยรุ่นและคนทำงานส่วนใหญ่จะเลือกสมาร์ตโฟน แพลตฟอร์ม  6 ระบบปฏิบัติการเช่น  iOS จาก apple  , Android พัฒนาโดย Google , WindowsPhone7 จาก Microsoft , Symbian จาก NOKIA  , Blackberry OS จาก RIM Blackberry และ BADA จาก SAMSUNG และเร็วๆนี้อาจมาไทยคือ HP Palm จาก HP ที่ซื้อกิจการจาก Palm
1.Application ที่จะช่วยให้สมาร์ตโฟน องผู้ใช้มีความสามารถมากว่าเป็นเพียงโทรศัพท์เคลื่อนที่ธรรมดา ซึ่งแต่ละระบบปฏิบัติการจะมี Application ที่ให้ผู้ใช้เลือกใช้ แตกต่างกันทั้งในด้านคุณภาพ และปริมาณ
2.คุณภาพเสียงบนลำโพงของสมาร์ตโฟน
เป็นอีกปัจจัยทางด้านความบันเทิง และความชัดเจนของเสียงในการสนทนา
3.หน่วยความจำ
พิจารณาว่าหน่วยความจำในตัวเครื่องมีขนาดเท่าไร ส่วนใหญ่ ถ้าเป็นสมาร์ตโฟนราคาสูง ๆ จะมีเนื้อที่หน่วยความจำภายในตัวเครื่องสูงด้วยเช่นกัน และบางรุ่นก็จะมีช่องสำหรับใส่  SD card หรือ mini SD card เพิ่มเติมได้ เพื่อขยายความสามารถของเครื่องในการเพิ่มพื้นที่เก็บข้อมูล รูปภาพต่างๆหรือแม้แต่การลงโปรแกรม แต่ก็มีบางรุ่นที่ไม่มีช่อง ใส่ SD Card เพื่อเพิ่มหน่วยความจำ ดังนั้นควรศึกษาเรื่องหน่วยความจำในแต่ละรุ่นให้ดี ยิ่งถ้าเป็นรุ่นที่ราคาต่ำมาก ยิ่งต้องดูหน่วยความจำด้วยว่าเนื้อที่หน่วยความจำในเครื่องเพียงพอที่ลง โปรแกรมตามความต้องการของเราหรือไม่ เพราะส่วนใหญ่เครื่องราคาถูกจะให้หน่วยความจำน้อยมาก จึงลงแอพพลิเคชั่นบนมือถือได้น้อย
4.การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
สมาร์ตโฟนส่วนใหญ่จะมี Bluetooth , Wi-fi  และต้องตรวจสอบว่ารองรับการเชื่อมต่อแบบ 3G หรือ ไม่?   หากมี ก็ต้องดูว่าสมาร์ตโฟน รองรับความถี่ใดบ้าง สมาร์ตโฟน บางรุ่นยังสามารถเป็น ตัว wi-fi Hotspot โดยรับสัญญาณ 3G กระจายสัญญาณ wi-fi ไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ มือถือ และแท็บเล็ตเครื่องอื่นสามารถเล่นอินเตอร์เน็ตได้พร้อมๆกันได้ด้วย
5.อุปกรณ์เสริม  Port USB
เพื่อให้สามารถถ่ายโอนไฟล์ได้, หูฟังต้องใช้กับหูฟังขนาดใด, มีหน้ากากมือถือ, เคส, ซิลิโคนสำหรับมือถือรุ่นนั้นหรือไม่, สมาร์ตโฟน บางรุ่นต่อออกจอโทรทัศน์ผ่าน HDMI ได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับความต้องการใช้งานของผู้ใช้, สมาร์ตโฟนบางรุ่นรองรับเทคโนโลยี NFC ในการชำระสินค้า (เป็นที่นิยมในต่างประเทศ) เป็นต้น
6.การรับประกันและบริการหลังการขาย
ส่วนใหญ่จะประกัน 1 ปี บางยี่ห้อสามารถขยายประกันสมาร์ตโฟนที่มีราคาสูง ๆ ที่ประกันสามารถส่งซ่อมไปที่ศูนย์ บริการได้ทุกสาขาทั่วโลก และขยายประกันได้ หรือแบรนด์อื่น หรือมีบริการรับซ่อมมือถือ ถึงบ้าน เป็นต้น
ยุคสื่อสารไร้พรหมแดน เทคโนโลยีระบบปฏิบัติการในโทรศัพท์มือถือได้ถูกพัฒนาให้มีความทันสมัยเพื่อ ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้มากขึ้นและได้แตกขยายสาขาออกเป็นหลายสำนัก ถ้านับเป็นสัดส่วนของมือถือที่มีอยู่ในปัจจุบัน จะแบ่งดังนี้
  1. BlackBerry OS ระบบปฏิบัติการของบริษัท Research In Motion ซึ่งใช้งานในโทรศัพท์มือถือ BlackBerry
  2. iOS ระบบที่พัฒนามาจาก Mac OS X ที่ใช้งานในเครื่อง Apple Macintosh เพื่อนำมาใช้งานในโทรศัพท์มือถือ iPhone และเครื่องเล่นเพลงพกพา iPod touch
  3. Windows Phone ระบบปฏิบัติการสำหรับโทรศัพท์มือถือ จากค่าย Microsoft ชื่อเดิมคือ Windows Mobile ซึ่งถือเป็นตัวเลือกลำดับต้นๆ ของโทรศัพท์ประเภทสมาร์ทโฟน หรือ พ๊อกเก็ตพีซี (Pocket PC) ซึ่งมีการออกแบบให้มีความคล้ายคลึง รูปลักษณ์ ให้คล้ายกับ ระบบปฏิบัติการ Windows ที่ใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไป
  4. Android ระบบปฏิบัติการที่ได้รับการสนับสนุนจาก Google โดยมีพื้นฐานจากระบบปฏิบัติการ Linux โดยมีการพัฒนาต่อยอด พร้อมทั้งเปิดเผยซอร์สโค้ดเป็นแบบ Open Source
  5. Symbian เดิมที เป็นการรวมตัวกันของแบรนด์โทรศัพท์ชื่อดังหลายเจ้า (เช่น Sony Ericsson, Nokia, Motorola, Psion ฯลฯ) ร่วมกันลงทุนในการพัฒนาระบบปฏิบัติการ ที่สามารถนำไปใช้งานได้ในโทรศัพท์มือถือหลาย สเป็ค ซึ่งเป็นส่วนทำให้ส่วนแบ่งตลาดของ Symbian มีปริมาณมากกว่าระบบปฏิบัติการตัวอื่น ชื่อที่พอจะคุ้นหูกันบ้าง เช่น รุ่น S60 เป็นต้น และเมื่อ พ.ศ.2551 บริษัท Nokia ได้ทำการเข้าซื้อหุ้นทั้งหมดจากผู้ถือหุ้นรายอื่น และประกาศให้โค้ดของ Symbian เป็น Open Source ภายใต้การดำเนินงานของ Symbian Foundation (wikipedia.org, 2009)
นักเทคโนโลยีสื่อสารมวลชนคาดว่าในอีก 2-3 ปี ยอดใช้มือถือสมาร์ตโฟน ทั่วโลกจะสูงมากกว่า โทรศัพท์มือถือธรรมดา เพราะในอนาคตทุกคนจะใช้สมาร์ตโฟน แทนที่คอมพิวเตอร์ โดยผลการวิจัยจาก Comscore พบว่าในตลาดสมาร์ตโฟนของประเทศอเมริกา นั่นคือ Android 41.8%, iOS 27%, BlackBerry OS  21.7%, Windows Phone 5.7%, และ Symbian 1.9% สำหรับประเทศไทย Symbian 35%, Android 25%, BlackBerry OS  21%, iOS 12% และ Windows Phone

วิดีโอ รีวิว Samsung  galaxy j2



อ้างอิง  https://tdo2029.wordpress.com/